ธรรมเนียมการแต่งกายอันถือเป็นธรรมเนียมที่ถูกปฏิบัติสืบมา

การแต่งกายไว้ทุกข์ที่ถูกต้อง

ตามธรรมเนียมเก่าแก่ในเรื่องของการแต่งกายไว้ทุกข์ เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์สวรรคตนั้น เดิมทีมีระเบียบแบบแผนที่ยึดปฏิบัติกันมาช้านาน แต่ปัจจุบันถูกปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา และค่านิยมจากตะวันตก…

โดยสีของเสื้อผ้าจะเป็นเครื่องบ่งบอกสถานะ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียชีวิตและผู้แต่งกาย หากผู้เสียชีวิตมีศักดิ์ใหญ่กว่าเราผู้น้อยแต่งด้วยสีขาว…ในทางกลับกัน หากผู้เสียชีวิตมีศักดิ์น้อยกว่า ควรแต่งด้วยสีดำ

ต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 วัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเป็นวงกว้าง การแต่งกายไว้ทุกข์จึงเปลี่ยนเป็นสีดำ หรือสีขาวดำ ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าว ถูกใช้เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน

ซึ่งในการเข้าไป ประชาชนทั้งชายและหญิง ควรแต่งกายด้วยสีสุภาพ เช่น ขาว, ดำ, เทา และไม่ควรมีลวดลาย อย่านำเครื่องประดับที่เป็นตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของพระบรมวาศานุวงศ์ที่ยังมีชีวิตมาติดประดับบนเสื้อผ้า นับว่าเป็นสิ่งไม่สมควร ซึ่งสิ่งของอันเป็นมงคลไม่ควรอยู่กับสิ่งของที่ไม่เป็นมงคล ในกรณีที่ประชาชนจะร่วมถวายสักการะพระบรมศพนั้น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายควรยึดตามหลักสากล โดยผู้หญิงไม่ควรนุ่งกางเกง แต่ควรสวมใส่กระโปรงยาวคุมเข่า ไม่รัดรูป ไม่แขนกุด ไม่แฟชั่น ส่วนชายควรสวมใส่เสื้อเชิ้ตสีขาว เนคไทดำ กางเกงดำ

พิธีกรรมในงานศพไทย

รดน้ำ

 

พิธีรดน้ำศพ
ก่อนที่จะนำศพใส่โลงเมื่อมีคนสิ้นลมหายใจแล้วจะนำศพมาทำพิธี ซึ่งพิธีที่จะทำเริ่มแรก คือ การอาบน้ำศพหรือที่เรียกกันว่า “พิธีรดน้ำศพ” ซึ่งการรดน้ำศพจะจัดพิธีหลังจากคนตายไปไม่นานนัก โดยใช้น้ำมนต์ผสมน้ำสะอาดโรยด้วยดอกไม้หอมหรืออาจะใช้น้ำอบผสมด้วย ผู้ที่มารดน้ำศพจะรดที่มือข้างหนึ่งของผู้ตายที่ยื่นออกมาและกล่าวคำไว้อาลัย ถือเป็นพิธีเริ่มต้นเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ตาย มักเชิญคนสนิท คนรู้จักหรือผู้ที่เคารพนับถือไปรดน้ำศพเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่จากไป

เมื่อท่านไปถึงในพิธีควรจะทักทายและแสดงความเสียใจต่อเจ้าภาพจากนั้นจึงนั่งรอในที่จัดเตรียมไว้ เจ้าภาพจึงจะเชิญท่านไปรดน้ำยังบริเวณที่ตั้งศพ ท่านจึงทำความเคารพศพและเทน้ำอบที่เจ้าภาพได้จัดเตรียมไว้ลงบนฝ่ามือและอโหสิกรรมให้กับผู้ที่ล่วงลับ

 

สวด

 

พิธีสวดอภิธรรม
งานสวดอภิธรรมหรืองานสวดศพเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นสัจธรรมของชีวิตว่า โดยปรมัตถธรรมแท้จริงแล้ว ชีวิตประกอบด้วยธรรมชาติ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นรูป คือ ร่างกาย อันประกอบด้วยธรรมชาติ 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ (ธาตุ 4) กับส่วนที่เป็นนาม คือ จิตเจตสิก (ขันธ์ 5 : เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ถ้าเห็นสัจธรรมของชีวิตตามธรรมชาติด้วยปัญญาญาณย่อมบรรลุถึงพระนิพพาน การดับกิเลสคือการดับทุกข์ได้ ดังนั้นการสวดพระอภิธรรมในงานศพย่อมมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เห็นความจริงของชีวิตตามธรรมชาติหรือธรรมดารวมถึงระลึกถึงคุณความดีของผู้ที่ล่วงลับ และการเชิญพระมาสวดบทอภิธรรมที่มีความหมายเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต ส่วนใหญ่มักจัดเป็นงานบุญ 7 วันในตอนกลางคืน

ในส่วนนี้เองที่มักมีการส่งพวงหรีดไปร่วมแสดงความไว้อาลัยแก่ผู้ที่ล่วงลับ โดยอาจเลือกพวงหรีดที่สวยงามสามารถย่อยสลายง่ายและทำจากวัสดุธรรมชาติหรือพวงหรีดผ้าที่มีการจัดเตรียมอย่างสวยงามไม่แพ้พวงหรีดดอกไม้สด รวมถึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ซึ่งการติดตั้งพวงหรีดไม่ควรติดตั้งเองควรส่งให้กับเจ้าภาพหรือผู้ที่ดูแลนำไปติดตั้ง

เมื่อเข้ามาในศาลาที่ตั้งโลงศพควรกราบพระก่อนด้วยเบญจางคประดิษฐ์ จากนั้นจึงจุดธูป 1 ดอกเพื่อไหว้เคารพตามความเหมาะสม เช่น
• หากผู้ตายเป็นผู้สูงอายุ ให้กราบ 1 ครั้งแบบไม่แบมือ
• หากผู้ตายเป็นพระภิกษุสงฆ์ ให้กราบเบญจางคประดิษฐ์
• หากผู้ตายอยู่ในวัยเดียวกัน ให้ยืนคำนับหรือนั่งไหว้
• หากผู้ตายเป็นผู้น้อยหรืออายุน้อยกว่า ให้ยืนหรือนั่งในท่าสงบ
• หลังจากที่การสวดอภิธรรมเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วจะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่จากไปด้วยพิธีทอดผ้าบังสุกุลและถวายของจตุปัจจัยให้แก่พระสงฆ์ จากนั้นเป็นการกรวดน้ำให้แก่ผู้ที่ล่วงลับจึงจบพิธีสวดอภิธรรมในแต่ละคืน

การแต่งกายเข้าถวายสักการะพระบรมศพ

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%96%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%81

หลังจากสำนักพระราชวังได้รับพระราชานุญาตให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมโกศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

หลายคนอาจเกิดคำถามเกี่ยวกับเรื่องการแต่งกายอย่างไรให้เหมาะสมแก่การเข้าไปสักการพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมโกศ ทั้งยังเป็นการถวายพระเกียรติสูงสุดแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งสำนักพระราชวังได้ออกประกาศเกี่ยวกับระเบียบการแต่งกายดังนี้ สำหรับการแต่งกายที่เหมาะสม คือ

 

สำหรับประชาชนทั่วไปให้ใช้สีดำล้วนเป็นการสุภาพที่สุด

การแต่งกายของพสกนิกรชาวไทยเพื่อแสดงความอาลัยต่อการสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ควรแต่งกายด้วยสีดำเป็นพื้นฐาน โดยใช้สีขาวหรือสีเทาสลับได้ ซึ่งสีดำล้วนถือว่าเป็นการแต่งกายที่สุภาพที่สุด

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%96%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%81

รูปแบบเครื่องแต่งกายต้องสุภาพ

เสื้อผ้าควรมีรูปแบบที่สุภาพ เป็นสีพื้นไม่มีลวดลาย โดยหลักควรเป็นสีดำ แต่สามารถใส่สีขาวหรือสีเทาสลับได้ ไม่ควรใส่เสื้อกล้าม เสื้อแขนกุด เสื้อสายเดี่ยว เกาะอก เสื้อเปิดไหล่ เสื้อคอกว้างเกินไป หากจำเป็นต้องสวมใส่เสื้อที่เปิดไหล่ สามารถสวมผ้าคลุมสีดำคลุมทับ หรือสวมเสื้อสูทหรือเสื้อคาร์ดิแกนสีดำทับได้เช่นกัน กางเกงไม่ควรเป็นกางเกงขาสั้น หรือกางเกงรัดรูป สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น โดยกางเกงยีนส์สามารถสวมใส่ได้ แต่ต้องเป็นกางเกงยีนส์สีเข้ม ไม่ฟอกสี ไม่ขาด

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%96%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%81

เสื้อที่มีตราสัญลักษณ์ถือเป็นการมิควร

สำหรับเสื้อดำที่มีตราสัญลักษณ์ประจำองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศนั้น ไม่ควรนำมาสวมใส่เพื่อแสดงความอาลัย ถือว่าเป็นการมิควรเนื่องจากไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต และถือว่าเป็นการผิดกาลเทศะ

 

ข้าราชการกรณีมิได้เข้าร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ

ข้าราชการชาย การแต่งกายทั่วไปในการปฏิบัติราชการ ข้าราชการชายให้แต่งด้วยเสื้อเชิ้ตสีขาวหรือสีดำ ผูกเนกไทสีดำ หากจะสวมเสื้อสูทหรือเสื้อคลุมให้ใช้สีดำ โดยอาจใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งสีดำพันแขนเสื้อเบื้องบนได้ตามสมควร

ข้าราชการหญิง การแต่งกายทั่วไปในการปฏิบัติราชการ ข้าราชการหญิงให้แต่งกายสุภาพตามรัฐพิธี โดยให้ใช้เครื่องดำล้วน กรณีข้าราชการที่มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างอื่นเป็นการเฉพาะ ก็ให้แต่งกายตามนั้น

ประเพณีการตายของชาวจีนในจังหวัดภูเก็ต

%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a8%e0%b8%9e%e0%b8%88%e0%b8%b5%e0%b8%99

ชาวจีนให้ความสำคัญกับประเพณีการตายโดยเฉพาะพิธีศพของบุพการี ผู้เป็นบุตรหลานจะต้องจัดอย่างดีที่สุดเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตา มีความละเอียดซับซ้อนสะท้อนภูมิปัญญาเก่าแก่ เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ตายและส่งผู้ตายไปยังภพภูมิที่ดี และบุตรหลานที่ยังมีชีวิตอยู่มีความเจริญรุ่งเรือง รักใคร่สามัคคีกัน เมื่อชาวจีนอพยพไปอยู่ที่ใดก็นำเอาขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติตนไปปฏิบัติ แม้ว่าชาวจีนที่เดินทางเข้าสู่ภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นฮกเกี้ยน การจัดพิธีศพเป็นไปตามแบบของชาวจีนฮกเกี้ยน แต่ก็มีขั้นตอนพิธีกรรมคล้ายคลึงกันกับชาวจีนภาษาอื่นๆ ต่างกันแต่รายละเอียดปลีกย่อย

การแต่งตัวให้ศพ

ชาวจีนนิยมจัดพิธีศพที่บ้านของผู้ตาย ลูกหลานจะอาบน้ำแต่งตัวและตั้งศพไว้ในบ้าน 1 คืน การแต่งตัวศพ ผู้ชายนิยมใส่ชุดท่อนบน(เสื้อ) 4 ตัว ชุดท่อนล่างเป็นกางเกง 2 ตัว รวมกันเป็น 6ชิ้น ผู้หญิงนิยมใส่ชุดท่อนบน 4 ตัว ชุดท่อนล่างเป็นกางเกง 2 ตัว ชิ้นนอกสุดเป็นผ้าถุงหรือเป็นชุดกระโปรงแบบจีน รวมเป็น 7 ชิ้น (ผู้ชายเป็นคู่ผู้หญิงเป็นคี่) ชิ้นนอกสุดนิยมเป็นสีม่วงเข้มการสวมเสื้อ 4 ตัวนั้น คนจีนสมัยก่อนจะนิยมเย็บเสื้อของตัวเองเตรียมไว้สำหรับสวมในวันตาย โดยชั้นในสุดมักเป็นชุดขาว ชั้นนอกเป็นการแต่งกายให้ผู้ตายดูดีมีเกียรติที่สุด การสวมเสื้อผ้าให้ผู้ตายนั้นมีพิธีที่เรียกว่าโถ้ซ้า套衣โดยลูกชายคนโตต้องไปยืนบนเก้าอี้เตี้ยๆ ที่หน้าประตูบ้าน สวมหมวกสานไม้ไผ่ บนหมวกปักดอกกุหลาบแดง ตะเกียบ 12 คู่(เสียบบนหมวก) ยืนกางแขนหน้าบ้านถือเชือก(เพื่อเวลาถอดจะได้ดึงเชือกออกมาพร้อมกัน)ให้คนทำพิธีสวมเสื้อให้ทีละชิ้น เสร็จแล้วถอดเสื้อทั้งหมดออกพร้อมกัน จากนั้นลูกชายเดินออกมาแล้วขว้างหมวกขึ้นไปบนหลังคา แล้วจึงนำเสื้อไปสวมให้แก่ผู้ตาย “คนเป็นสวมกระดุมไว้ข้างหน้า คนตายสวมกระดุมไว้ข้างหลัง”หมายถึงการสวมเสื้อให้ผู้ตายจะสวมเอาด้านหลังของเสื้อมาไว้ด้านหน้า นอกจากเสื้อผ้าแล้วยังสามารถสวมหมวก รองเท้า ถุงมือให้ผู้ตายอย่างเต็มยศ และต้องวางมุก 1 เม็ดไว้ที่หน้าผากของผู้ตาย มุกเปรียบเหมือนแสงสว่างติดไว้ที่หน้าผากเพื่อนำทางหรือเปิดทางให้ผู้ตายเดินทางไปสู่ปรโลก (ชาวกวางตุ้งนิยมนำหยกใส่ลงไปในปากของผู้ตาย)

การแต่งหน้าศพสีสันบนร่างไร้วิญญาณ

เบื้องหลังความตายอาจเป็นมุมมองที่ไม่มีใครอยากสัมผัสแต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่คอยแต่งแต้มสีสันลดความเศร้าหมองแห่งการสูญเสีย พวกเขาทำงานกับศพอย่างไร มีเทรนด์การแต่งหน้าหรือไม่ ต้อสุภาพร เอี่ยมวงศ์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล ดูแลงานภายในห้องไอซียูมาร่วม 13 ปี เล่าถึงการทำงานด้วยความรักและภูมิใจที่ได้บริการดูแลคนไข้จนถึงวินาทีสุดท้ายข  “ตอนมีชีวิตอยู่เราก็ดูแลเขาเป็นอย่างดี เมื่อคนไข้เสียชีวิตสิ่งสุดท้ายที่เราสามารถทำให้เขาได้คือการทำศพ ให้อยู่ในสภาพสวยงามที่สุดในวาระสุดท้ายของชีวิต โดยเฉพาะการแต่งหน้าผู้เสียชีวิตจากที่หน้าซีดเซียว ให้ดูมีน้ำมีนวลมีสีสันเป็นธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งตรงนี้ต้องขออนุญาตญาติก่อนว่าอยากให้เราทำให้ไหม” ด้วยความเชื่อของคนไทยว่าจิตวิญญาณมีจริง ดังนั้นหากเสียชีวิตก็ควรให้สวมเสื้อผ้าสวยๆ แต่งตัวแต่งหน้าดูดีตอนจากไป

สุภาพร บอกว่าการแต่งหน้าให้ผู้เสียชีวิตก็เหมือนกับการแต่งหน้าคนทั่วไป แต่ต้องทำภายในเวลา 2 ชั่วโมงหลังจากที่เสียชีวิตแล้ว โดยจะเน้นสีที่เป็นธรรมชาติ เรียบๆ สำรวม ดูแล้วเหมือนเป็นคนนอนหลับ สำหรับโทนสีในการแต่งหน้านั้น ขึ้นอยู่กับวัยและสีผิวของผู้เสียชีวิตด้วยถ้าหากเป็นคนผิวขาวหรืออายุยังน้อยจะเลือกใช้เครื่องสำอางสีชมพู หากเป็นคนผิวคล้ำหรือผิวสองสีจะเลือกใช้โทนสีส้มหรือสีน้ำตาล หรือหากเป็นผู้ชายการแต่งหน้าอาจมีเพียงการรองพื้นไม่ให้ผิวซีด ทาแป้ง และทาลิปมันหรือวาสลีนเท่านั้น

“เคยมีอยู่เคสหนึ่งที่อื่นเขาแต่งมาแบบตาสีเขียว ปากแดงแจ๊ด ญาติไม่พอใจเขาเลยอยากให้เราช่วยแก้แต่เราไม่ได้รับทำงานนี้ คือเราดูแลคนไข้ที่โรงพยาบาลเมื่อเสียเราก็ช่วยแต่งให้ฟรีๆ ไม่ได้คิดเพิ่ม ไม่ใช่นโยบายของที่นี่ แต่เราเต็มใจทำให้ ซึ่งนอกจากเรื่องความเชื่อแล้วงานศพของไทยยังมีการรดน้ำศพ การแต่งหน้าจึงมีบทบาทมากขึ้นและมีมานานแล้ว เริ่มแรกสมัยก่อนจะมีแต่ตามโรงพยาบาลเอกชน แต่เดี๋ยวนี้ที่ไหนก็ต้องมี”

สำหรับขั้นตอนการทำศพเบื้องต้น อย่างแรกที่ทำคือ “การอาบน้ำ” เป็นการอาบน้ำ ฟอกสบู่ สระผม เช็ดตัว และเป่าผมให้แห้งด้วยไดร์บนเตียงที่คนไข้เสียชีวิต  จากนั้นจะให้ญาติเลือกเครื่องแต่งกายของผู้เสียชีวิตมาอาจเป็นชุดสวยที่สุดหรือชุดโปรดของผู้ตาย หากเป็นครอบครัวเชื้อสายจีนอาจมีการสวมชุดทับกันตั้งแต่ 3-7 ชั้นตามธรรมเนียมจีน

ขั้นตอนต่อไปคือ “การแพ็กศพ” หมายถึงการใช้สำลีแห้งปิดช่องทวารทั้ง 5 ปาก จมูก หู ทวารหนัก ช่องคลอด ก่อนใส่เสื้อผ้าใหม่และเริ่มขั้นตอน “การแต่งหน้า” เริ่มตั้งแต่การหวีผมรวบไว้ให้เรียบร้อย จากนั้นต้องทาครีมรองพื้น เกลี่ยให้เสมอกันแล้วทาแป้งให้ผิวหน้าเนียน แล้วจึงทาตา ปัดแก้ม ทาปาก ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%97

10 สิ่งข้อควรรู้ เตรียมความพร้อมก่อนไปงานศพ

8426005_orig

  1. พกกิ่งทับทิมใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อขณะอยู่ในงาน

​ชาวจีนโบราณเชื่อว่าถ้าพกกิ่งทับทิมไปงานศพจะป้องกันเราจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ที่อยู่ในงาน

  1. เตรียมน้ำที่มีใบทับทิมไว้ล้างหน้า

​เราควรล้างหน้าหลังจากกลับจากงานศพเพื่อกันไม่ให้วิญญาณคนตายตามเราเข้ามาบ้าน

  1. นำเข็มกลัดมากลัดไว้ที่เสื้อหรือชุดคลุมท้อง

​หากสุภาพสตรีท่านใดกำลังตั้งครรภ์ ให้นำเข็มกลัดมากลัดไว้ที่เสื้อหรือชุดคลุมท้องเพื่อป้องกันสิ่งเร้นลับทั้งหลายที่สามารถมาทำอันตรายเด็กได้ นอกจากนี้โบราณยังเชื่อว่าหากนำเข็มกลัดมากลัดจะป้องกันเด็กหลุดอีกด้วย

  1. พกมีดขณะอยู่ในงานศพ

​เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งอัปมงคลต่างๆ ขณะที่อยู่ในงาน

  1. ห้ามลอดมองใต้หว่างขา

​การมองลอดใต้หว่างขาไปยังโลงศพไม่ควรทำเพราะจะเห็นคนตาย

  1. อย่าชมพวงหรีดว่าสวย

​แม้ว่าพวงหรีดในงานจะสวยแค่ไหนก็ตาม อย่าชมมันเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นจะมีงานศพตามมาอีก

  1. คนที่กำลังไม่สบายไม่ควรไปงานศพ

​เพราะกำลังมีดวงจิตที่อ่อนแอ วิญญาณและสิ่งอัปมงคลต่างๆ จะถือโอกาสเกาะติดกลับมาบ้านด้วย

  1. ไม่ควรร้บประทานอาหารและเครื่องดื่มในงานศพ

​หากใครที่ดวงชะตาไม่ดีหรือเป็นปีชงไม่ควรรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มในงานศพ เพราะสิ่งชั่วร้ายต่างๆ จะเข้ามาทำร้ายเราผ่านทางอาหารและเครื่องดื่ม

  1. ห้ามหยิบดอกไม้จันทน์ส่งต่อกันในงานศพ

​เพราะการยื่นดอกไม้จันทน์ให้กันนั้นคือการหยิบส่งให้คนตาย ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนกับการไปแช่งให้ผู้รับตาย

  1. ที่สำคัญอย่าลืมนำ “พวงหรีด” ไปงานศพ

​ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สากลในการไว้อาลัยไปงานศพ เพราะนอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงความเสียใจต่อเจ้าภาพและญาติมิตรของผู้ที่เสียชีวิตแล้ว ยังเป็นการแสดงความเคารพต่อเทวดาซึ่งจะนำพาดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิตไปสู่สวรรค์อีกด้วย

การเข้าร่วมพิธีศพของคนญี่ปุ่น

Late Nintendo President Satoru Iwata Funeralพิธีฝังศพประเทศญี่ปุ่นมีความเชื่อในศาสนาพุทธแบบชินโต คือจะทำในแบบของศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่กว่า 90% หลังจากมีผู้ที่เสียชีวิตจะนำน้ำมาล้างปากของผู้ตาย สำหรับสถานที่นั้นจะมีการจัดตั้งโต๊ะที่ประดับไว้ด้วยดอกไม้ ,ธูป หรือเครื่องหอมและเทียนใกล้กับร่างของผู้เสียชีวิต และจะมีการนำมีดมาวางไว้บนหน้าอกของผู้ตายเพื่อเป็นขับไล่วิญญาณร้าย หรือสิ่งไม่ดีไม่ให้มายุ่งกับร่าง หลังจากนั้นญาติและคนทำพิธีจะมีการมอบใบประกาศการตาย เป็นพิธีที่เทียบได้กับพิธีบรรจุศพลงในโลงของศาสนาคริสตร์ ได้แก่การอยู่ข้ามคืนเป็นเพื่อนกับผู้ตาย ซึ่งบรรดาคนในครอบครัว ญาติสนิท มิตรสหาย หรือผู้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อกับผู้ตายจะอยู่ข้ามคืนพร้อมกันหน้าศพก่อนจะทำการบรรจุหรือทำพิธีต่อไป แท่นบูชาในงานศพนั้นจะเป็นหน้าที่ของผู้ที่รับจัดพิธีเป็นผู้ประดับประดาให้ ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ซึ่งผู้ที่มีอาชีพจัดงานศพนี้จะจัดการให้ตั้งแต่เริ่มพิธีจนกระทั่งส่งมอบอัฐิ

หลังจากบรรจุศพลงในโลงแล้ว ผู้ร่วมพิธีจะทำการไว้อาลัยและทำพิธีกล่าวอำลาครั้งสุดท้ายให้แก่ผู้เสียชีวิต บางครั้งพิธีศพอาจจะทำกันเป็นการภายในเฉพาะคนในครอบครัวและญาติสนิทเท่านั้น โดยผู้ร่วมพิธีทั่วไปจะเข้าร่วมเฉพาะพิธีกล่าวอำลาเท่านั้น เมื่อพิธีกล่าวอำลาเสร็จสิ้นก็จะนำศพไปเผายังฌาปนสถาน และในวันรุ่งขึ้นจะเก็บอัฐิเพื่อนำกลับบ้านหรือนำไปฝังต่อไป หลังจากจบงานศพจะต้องมีการจัดการเรื่องต่างๆ เช่นเงินบริจาค, รายชื่อผู้บริจาคเงิน, สมุดจดรายละเอียดแขกผู้มีเกียรติ, ดอกไม้และสิ่งของที่ทางแขกเป็นผู้บริจาค, จดหมายหรือข้อความที่ทางแขกที่ไม่สามารถมาร่วมงานได้ส่งมา, ค่าใช้จ่ายต่างๆ, ค่าใช้จ่ายที่ทางบริษัทออกให้ก่อน, เงินทำบุญบริจาคแก่พระสงฆ์, เงินหรือสิ่งของสำหรับขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือ, ของชำร่วย, การไปขอบคุณเพื่อนบ้าน, พิธีครบรอบสี่สิบเก้าวัน, พิธีครบรอบวันตายและอื่นๆ

การไปร่วมพิธีศพ
• เสื้อผ้าสำหรับไปร่วมงานศพ ผู้ชายจะใส่สูทสีดำ เสื้อเชิ้ตสีขาว เนกไทสีดำ ส่วนผู้หญิงจะใส่เดรสสีดำทั้งชุด การแต่งตัวต้องสุภาพเพราะถือเป็นการให้เกียรติผู้เสียชีวิตเป็นครั้งสุดท้าย
• สิ่งที่นำติดตัวไปด้วยคือ ลูกประคำ สำหรับคล้องมือเวลาฟังพระสวดมนต์ และซองเงินช่วยซึ่งจะใส่เงินช่วยเป็นเลขคี่ ตั้งแต่ 3,000 – 30,000 เยน หรือมากกว่านั้นตามกำลังทรัพย์
• เมื่อเข้าไปในงานควรไปลงนามในสมุดร่วมงานที่เจ้าภาพจัดเตรียมไว้พร้อมกับยื่นซองเงินช่วยให้ และไม่ควรพูดเสียงดัง ควรพูดด้วยเสียงค่อยๆเพื่อเป็นการแสดงความเสียใจ

การจัดการพิธีกรรมในงานศพในถูกต้อง

6ความตายเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเจอกันอยู่แล้ว ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรเกรงกลัวกับความตายที่จะเกิดขึ้นแต่สิ่งที่ควรคำนึงคือการกระทำเมื่อยังมีชีวิตอยู่ควรพิจารณาว่าเราได้ประกอบคุณงามความดีและสร้างบุญกุศลเอาไว้ได้มากน้อยแค่ ไหนในช่วงที่มีโอกาสเหลืออยู่ การบอกทางเมื่อเชื่อแน่ว่าผู้ป่วยต้องถึงแก่กรรมหรือมีการบอกให้ทราบว่าจะถึงแก่กรรมในระยะอันใกล้นี้แล้ว ผู้พยาบาลต้องจัดหาดอกไม้ธูปเทียนใส่กรวยใบตองให้ผู้ตายถือไว้และบอกให้รำลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์กับให้ทำใจให้สงบไม่กระวนกระวายเพื่อว่าให้ผู้ตายได้ตายด้วยความสงบทั้งทางร่างกายและจิตใจจริง ๆ

การปฏิบัติเมื่อตายแล้วเมื่อสิ้นลมหายใจให้จุดเทียนไว้ข้างศพ โดยใช้เทียนขี้ผึ้งมีไส้ 7 ไส้ เมื่อเทียนเล่มนั้นจุดหมดดับแล้ว ผู้ตายไม่ฟื้นขึ้นก็เชื่อได้ว่าตายแน่แล้ว ถ้าเอาศพเข้าโลงไม่ทันต้องเอาไว้ข้ามคืน ให้เอาผ้าคลุมศพไว้ และอยู่ตามไฟ กับระวังอย่าให้แมวกระโดดข้าม เพราะถือกันว่าผีจะแรง การอาบน้ำศพ ก่อนเอาศพใส่โลงต้องทำพิธีอาบน้ำศพเสียก่อน ตอนแรกอาบด้วยน้ำอุ่น แล้วอาบด้วยน้ำเย็นฟอกศพด้วยผิวมะกรูดแล้วล้างให้สะอาด เช็ดถูให้แห้งแล้วตำขมิ้นชันสดกับผิวมะกรูดขัดให้ทั่วอีกทีหนึ่ง แล้วแต่งตัวศพด้วยเสื้อผ้าใหม่ ถ้าจะมีการรดน้ำศพอีกก็เอาศพขึ้นวางบนเตียงจับแขนข้างหนึ่งให้ทอดออกมาผู้มารดน้ำศพก็เอาน้ำหอมหยดลงที่ฝ่ามือของศพ อธิษฐานในใจให้อโหสิกรรมที่อาจจะมีอยู่แก่กันเสีย

การเอาศพใส่โลงก่อนเอาศพใส่โลงให้ตำหมากใส่ในปากศพคำหนึ่ง แล้วหาเงินบาทหรือแหวนทองคำใส่ลงไปในปาก เอาขี้ผึ้งหนาประมาณครึ่งนิ้วกว้างพอดีกับหน้าของศพปิดหน้าศพไว้เพื่อกันอุจาดนัยน์ตา เอากรวยดอกไม้ธูปเทียนใส่มือ แล้วตราสังข์ศพด้วยผ้าขาว ยกไปวางในโลง ปิดฝาโลงให้เรียบร้อย การตั้งศพทำบุญ การตังศพทำบุญจะทำที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตอนค่ำมีการนิมนต์พระมาสวดพระอภิธรรมเป็นประจำทุกคืนจนกว่าจะถึงวันกำหนดทำพิธีเผาหรือเก็บศพไว้เผาทีหลัง การเผาศพเมื่อถึงวันเผาศพยกศพไปตั้งในศาลานิมนต์พระมาสวดบังสุกุลถ้ามีเทศน์ก็เทศน์เสียก่อนบังสุกุล หามโลงเวียนเชิงตะกอน 3 รอบแล้วเอาขึ้นตั้งบนเชิงตะกอนให้พระจุดไฟเผาก่อนคนไปร่วมด้วยจึงจุดไฟเผาทีหลังในตอนนี้อาจจะมีการสวดหน้าไฟด้วยก็ได้การเก็บกระดูกศพมักเผาในตอนเย็นรุ่งเช้าจึงมีการเก็บกระดูกและนิมนต์พระมาตักบาตรปากหลุม เป็นเสร็จพิธี

การทำศพของคนสมัยก่อนที่ไม่มีให้เห็นแล้วในสมัยนี้

4

ในยุคนี้ที่ความเชื่อไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยมากมายเหมือนเมื่อก่อนพิธีกรรมต่าง ๆ ที่คนโบราณเคยถือปฏิบัติกันมา ก็ดูเหมือนจะถูกกลืนหายไปกับกาลเวลาทุกวัน ทุกวันด้วยความคิดของคนที่เปลี่ยนไป และเห็นว่าพิธีกรรมเดิม ๆ ที่เคยทำกันมานั้นแสนจะยุ่งยากมากความซะเหลือเกินและพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำศพก็คงเป็นหนึ่งในนั้นนั่นแหละค่ะเพราะสมัยนี้เวลามีคนตายเมื่อไหร่วัด ก็ดูเหมือนจะเป็นสถานที่ที่รับหน้าที่ทำศพไปอย่างไม่ต้องสงสัย แต่อย่าได้เอาไปเทียบกับสมัยก่อนเชียวนะคุณ ๆ  เพราะสำหรับคนโบราณแล้วกว่าจะถึงขั้นตอนการเผาศพหรือฝังศพได้เนี่ย ก็ต้องทำนู่นนี่อีรุงตุงนังมากมายเลยทีเดียวค่ะแต่ขั้นตอนของการทำศพในสมัยก่อนจะต้องทำอะไรบ้างก่อนหลัง คงไม่ขอพูดถึงดีกว่าเพราะมันคงยาวยืดไปหลายตอนเลยทีเดียวเอาเป็นว่าเอนทรี่นี้ขอหยิบยกเรื่องราวเกี่ยวกับการทำศพของคนสมัยก่อนที่ไม่มีให้เห็นแล้วในสมัยนี้มาเล่าให้เด็กสมัยใหม่ฟังกันดีกว่าว่าแล้วก็ไปดูกันว่า พิธีกรรมการทำศพที่เลือนหายไปแล้วน่ะมีอะไรบ้าง

เงินปากผีสมัยก่อนคนโบราณจะนำเงินพดด้วงผูกเชือกใส่ไว้ในปากศพ ด้วยความเชื่ออยู่ 3 อย่างค่ะหนึ่ง คือ เป็นปริศนาธรรมว่าคนตายไปแล้ว แม้แต่เงินทองก็เอาไปไม่ได้ สอง คือ เป็นค่าจ้างให้กับสัปเหร่อ เพราะเจ้าภาพต้องวุ่นอยู่กับการต้อนรับแขก ไม่มีเวลาเอามาให้สัปเหร่อโดยตรง เลยเอาเงินค่าจ้างใส่ปากศพไว้ให้สัปเหร่อล้วงเอาไปนั่นแหละสาม คือ เป็นค่าจ้างสำหรับผู้นำดวงวิญญาณของคนตายไปสู่โลกของวิญญาณหมากปากผี คนโบราณจะตำหมากใส่ปากศพเพื่อเป็นปริศนาธรรมว่า นอกจากคนตายจะเอาทรัพย์สินไปไม่ได้แล้ว แม้แต่หมากที่คนโบราณชอบเคี้ยวกันทุกวัน พอตายไป ต่อให้ป้อนให้ก็ไม่สามารถเคี้ยวได้อีกต่อไปเหมือนกันอาบน้ำศพ คำว่าอาบน้ำศพของคนโบราณ คือการอาบน้ำทั้งตัวเลยค่ะ โดยจะต้มน้ำแล้วใส่สมุนไพรต่าง ๆ ลงไป จากนั้นรอให้น้ำอุ่นก่อนค่อยเอามาอาบน้ำให้ศพ แล้วค่อยอาบด้วยน้ำเย็นอีกครั้ง ก่อนฟอกด้วยขมิ้นชันเป็นอันเสร็จพิธีส่วนพิธีรดน้ำที่มือศพที่หลายคนเรียกกันว่าอาบน้ำศพในสมัยนี้ ต้องเรียกว่า รดน้ำศพ ถึงจะถูกค่ะ ประตูป่า ก็คือประตูที่ทำเพื่อเอาศพออกโดยเฉพาะ ซึ่งสมัยก่อนคนโบราณจะรื้อฝาบ้านแล้วเอากิ่งไม้มาปักไว้แล้วรวบเป็นซุ้ม แล้วค่อยนำศพออกจากบ้าน โดยเอาปลายเท้าศพออกก่อน เพื่อไม่ให้ศพเห็นบ้านได้ ซึ่งพอเอาศพออกไปแล้ว เค้าก็จะรื้อประตูป่าทิ้งทันที แล้วปิดฝาบ้านที่ทำแบบนี้ เพราะเชื่อว่าวิญญาณคนตายจะหาทางเข้าบ้านไม่ได้นั่นเอง

จิตอาสาช่วยเหลืองานศพในชุมชน สร้างความสามัคคี มีน้ำใจต่อสังคม

ในปัจจุบันพิธีงานศพที่จัดขึ้นแต่ละครั้ง พบว่าค่าใช้จ่ายในการจัดงานแต่ละครั้ง ต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อย จนเกิดปัญหากับชาวบ้านหรือผู้ยากจนฐานะทางการเงินไม่ดี ประกอบกับการจัดงานต้องว่าจ้างแรงงานหรือผู้ที่จะมาช่วยงานในราคาค่อนข้างสูง จึงเกิดประกายของกลุ่มเด็กนักเรียน โรงเรียนชุมชนที่ 11 วัดสุวรรณประดิษฐ์ ต.ไผ่ขอดอน อ.เมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดแรกและจุดเริ่มต้น ที่มองเห็นความสำคัญของการจัดพิธีงานศพของคนในชุมชน ปัญหาที่ต้องหาเงินจำนวนมากมาจัดงานศพ ทำให้ชาวบ้านที่ยากจนไม่สามารถดำเนินการได้ครบสมบูรณ์ หรือไม่สามารถจัดงานศพได้ดีเท่าที่ควร จึงเกิดมีโครงการจิตอาสาช่วยเหลือคนยากจนและงานศพในท้องถิ่น โดยมีกลุ่มจิตอาสาจากเด็กนักเรียนโรงเรียนโรงเรียนชุมชนที่ 11 วัดสุวรรณประดิษฐ์ เข้าไปช่วยเหลือในการจัดงานศพ ครั้งละ 7-15 ตามความเหมาะสม โดยแบ่งกันทำหน้าที่ อาทิ เตรียมของชำร่วย บริการเสริฟน้ำดื่ม แจกดอกไม้จันทน์ ถือพานผ้าบังสุกุล ช่วยจัดเก็บสถานที่ พร้อมทั้งนำวงดุริยางค์ของโรงเรียนมาร่วมบรรเลงเพลงพญาโศก ช่วงพิธีฌาปนกิจศพ ตลอดทั้งมีการตั้งกองทุนบริจาคช่วยเหลืองานศพจากผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญ

วัตถุประสงค์ของโครงการจิตอาสาช่วยเหลือคนยากจนและงานศพในท้องถิ่น เพื่อสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ อิทธิบาท 4 และหลักคุณธรรม 4 ประการ เพื่อให้จิตอาสารู้จักการช่วยเหลือบุคคล ในสังคมที่กำลังได้รับความทุกข์และความเดือดร้อน สร้างความสามัคคีในเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตสำนึกในการทำความดี ให้รู้จักการเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนร่วม การทำงานร่วมกัน และให้มีทักษะในการทำงาน

การทำงานของกลุ่มนักเรียนจิตอาสา ได้รับการสนับสนุนจาก นายสมชาย ภัทรวิวัฒนพงศ์ ผอ.โรงเรียนชุมชนที่ 11 วัดสุวรรณประดิษฐ์ โดยมีพระครูพิพัฒน์สุวรณประดิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณประดิษฐ์ เป็นที่ปรึกษา ซึ่งจะมีการแบ่งกลุ่มนักเรียนจิตอาสาในการทำงานแต่ละหมู่บ้าน ไปสำรวจหาผู้สูงอายุ โดยใช้เวลาหลังเลิกเรียนและวันเสาร์อาทิตย์ นำเข้าที่ประชุมสมาชิกจิตอาสา หาแนวทางแก้ไขปัญหา พร้อมนำเสนอครูที่ปรึกษาและผู้บริหาร และดำเนินการตามขั้นตอนของงาน ตลอดเวลาที่กลุ่มนักเรียนจิตอาสาได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือสังคม ปรากฏว่าได้รับความชื่นชมและยกย่องในความเสียสละเวลาของนักเรียนกลุ่มจิตอาสา ที่ได้เข้าช่วยเหลืองานศพและคนยากจนในพื้นที่ ทำให้พิธีงานศพสำเร็จลุล่วงผ่านไปด้วยดีทุกงาน

ข้อมูลดีๆเกี่ยวกับพิธีทำศพซึ่งทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

7

การบอกทาง เมื่อเชื่อแน่ว่าผู้ป่วยต้องถึงแก่กรรม หรือมีการบอกให้ทราบว่าจะถึงแก่กรรมในระยะอันใกล้นี้แล้ว ผู้พยาบาลต้องจัดหาดอกไม้ธูปเทียนใส่กรวยใบตองให้ผู้ตายถือไว้ และบอกให้รำลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ กับให้ทำใจให้สงบ ไม่กระวนกระวาย เพื่อว่าให้ผู้ตายได้ตายด้วยความสงบทั้งทางร่างกายและจิตใจจริง ๆ การปฏิบัติเมื่อตายแล้ว เมื่อสิ้นลมหายใจ ให้จุดเทียนไว้ข้างศพ โดยใช้เทียนขี้ผึ้งมีไส้ 7 ไส้ เมื่อเทียนเล่มนั้นจุดหมดดับแล้ว ผู้ตายไม่ฟื้นขึ้นก็เชื่อได้ว่าตายแน่แล้ว ถ้าเอาศพเข้าโลงไม่ทันต้องเอาไว้ข้ามคืน ให้เอาผ้าคลุมศพไว้ และอยู่ตามไฟ กับระวังอย่าให้แมวกระโดดข้าม เพราะถือกันว่าผีจะแรง การอาบน้ำศพ ก่อนเอาศพใส่โลงต้องทำพิธีอาบน้ำศพเสียก่อน ตอนแรกอาบด้วยน้ำอุ่น แล้วอาบด้วยน้ำเย็น ฟอกศพด้วยผิวมะกรูดแล้วล้างให้สะอาด เช็ดถูให้แห้งแล้วตำขมิ้นชันสดกับผิวมะกรูดขัดให้ทั่วอีกทีหนึ่ง แล้วแต่งตัวศพด้วยเสื้อผ้าใหม่ ถ้าจะมีการรดน้ำศพอีก ก็เอาศพขึ้นวางบนเตียง จับแขนข้างหนึ่งให้ทอดออกมา ผู้มารดน้ำศพก็เอาน้ำหอมหยดลงที่ฝ่ามือของศพ อธิษฐานในใจให้อโหสิกรรมที่อาจจะมีอยู่แก่กันเสีย

การเอาศพใส่โลง ก่อนเอาศพใส่โลงให้ตำหมากใส่ในปากศพคำหนึ่ง แล้วหาเงินบาทหรือแหวนทองคำใส่ลงไปในปาก เอาขี้ผึ้งหนาประมาณครึ่งนิ้วกว้างพอดีกับหน้าของศพปิดหน้าศพไว้เพื่อกันอุจาดนัยน์ตา เอากรวยดอกไม้ธูปเทียนใส่มือ แล้วตราสังข์ศพด้วยผ้าขาว ยกไปวางในโลง ปิดฝาโลงให้เรียบร้อย การตั้งศพทำบุญ การตังศพทำบุญจะทำที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตอนค่ำมีการนิมนต์พระมาสวดพระอภิธรรมเป็นประจำทุกคืนจนกว่าจะถึงวันกำหนดทำพิธีเผา หรือเก็บศพไว้เผาทีหลังการเผาศพ เมื่อถึงวันเผาศพยกศพไปตั้งในศาลา นิมนต์พระมาสวดบังสุกุล ถ้ามีเทศน์ก็เทศน์เสียก่อนบังสุกุล หามโลงเวียนเชิงตะกอน 3 รอบแล้วเอาขึ้นตั้งบนเชิงตะกอน ให้พระจุดไฟเผาก่อนคนไปร่วมด้วยจึงจุดไฟเผาทีหลัง ในตอนนี้อาจจะมีการสวดหน้าไฟด้วยก็ได้ การเก็บกระดูก ศพมักเผาในตอนเย็น รุ่งเช้าจึงมีการเก็บกระดูก และนิมนต์พระมาตักบาตรปากหลุม เป็นเสร็จพิธี

ขั้นตอนการทำพิธีศพของคนในภาคเหนือของคนล้านนา

15

ประเพณีวัฒนธรรมของคนล้านนาเมื่อมีคนตายจะต้องจัดพิธีงานศพขึ้นเพื่อเป็นการ ไว้อาลัยแก่คนตายอย่างสมเกียรติ พิธีงานศพของคนล้านนาจะมีการจัดแต่งปราสาทใส่ศพประดับประดาด้วยดอกไม้สดหรือ แห้งให้แลดูสวยงาม นับว่าเพื่อเป็นการยกย่องผู้ตายให้ได้ขึ้นไปสู่สรวงสรรค์ชั้นฟ้าปราสาทงานศพจะนิยมใช้ในพิธีงานศพของจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือเท่านั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัฒนธรรมที่รับมาจากเมืองเชียงรุ้งแห่งสิบสองปันนา ซึ่งถือว่าเป็นต้นตระกูลไทแต่ดั่งเดิมรูปแบบของปราสาทงานศพมีด้วยกัน 2 รูปแบบคือ ปราสาทที่ทำด้วยไม้ ซึ่งเป็นวัสดุดั่งเดิมส่วนใหญ่ทำมาจากไม้ฉำฉา เพราะมีน้ำหนักเบาและเวลาเผาจะไหม้ไฟได้ง่าย ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งจะเป็นวิวัฒนาการของปราสาท สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยจะนำโต๊ะ เก้าอี้มาประดับในปราสาท เมื่อเวลาเผาศพแล้วก็จะนำโต๊ะ เก้าอี้เหล่านั้นไปมอบถวายให้กับวัดเพื่อใช้ในสาธารณประโยชน์ต่อไป

ขั้นตอนการทำพิธีศพของคนในภาคเหนือนั้น เมื่อมีคนตายขึ้น ทางบ้านโดยลูกหลานหรือญาติพี่น้องก็จะรีบไปติดต่อซื้อโลงศพและปราสาททันที การตั้งศพจะประกอบด้วยโลงศพมีการประดับประดาด้วยไฟสีหรือไฟกะพริบอย่างสวย งาม ก่อนที่จะนำโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท จะมีการทำพิธีกรรมทางสงฆ์คือการทานปราสาทเสียก่อน โดยจะนิมนต์พระสงฆ์มาเป็นผู้ทำพิธีก่อนที่ชาวบ้านและบรรดาลูกหลานของคนตายจะ ช่วยกันยกโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท ซึ่งพิธีทาน ประสาทมักจะกระทำก่อนวันเผา 1 วันในพิธีงานศพแถบหมู่บ้านรอบนอกจะนิยมจ้างวงดนตรีบรรเลงปี่พาทย์ หรือ วงสะล้อซอซึง มาเล่นประกอบพิธีศพกันอย่างครึกครื้น การสวดศพส่วนใหญ่แล้วจะตั้งสวด 3 – 5 วันนิยมตั้งศพไว้ที่บ้าน นิมนต์พระสงฆ์ไปสวดที่บ้าน แต่ปัจจุบันความนิยมดังกล่าวลดลงจะมีให้เห็นและเหลืออยู่ก็เพียงชาวบ้านที่ อยู่ในชนบท ที่มีบริเวณบ้านกว้างขวางพอที่จะตั้งปราสาทและทำพิธีศพได้ ส่วนคนในเมืองที่มีบริเวณบ้านคับแคบก็จะเอาศพไปตั้งไว้ที่วัด

วัดในแถบภาคเหนือจะต่างจากวัดของภาคอื่นๆ คือ ในวัดจะไม่มีเมรุเผาศพ เพราะการเผาศพจะไม่ได้เผาที่วัด แต่จะนำไปเผาที่สุสาน หรือ ป่าช้า คนล้านนาเรียก ป่าเหี้ยว นอกจากปราสาทที่พบอยู่ในพิธีกรรมงานศพของคนธรรมดาแล้ว ยังมีปราสาทอีกชนิดหนึ่งที่ใช้บรรจุศพของพระที่มรณภาพ จะแตกต่างกันในรายละเอียดและทำขึ้นอย่างสวยงามมากกว่าของคนธรรมดา ส่วนใหญ่แล้วจะทำขึ้นเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ ซึ่งตามตำนานเชื่อว่า นกหัสดีลงค์เป็นนกในวรรณคดีไทยที่มีพละกำลังมากเป็น 5 เท่าของช้าง และเป็นพาหนะของผู้มีบุญ ดังนั้นในพิธีงานศพของพระเถระเราจึงเห็นปราสาทบรรจุศพทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์

พิธีการเรื่องงานศพนั้น เริ่มต้นจากการอาบน้ำแต่งตัวให้ผู้ตายสมัยก่อนนิยมใช้น้ำอบ

11

ตามปกติเมื่อมีคนตายไม่ว่าจะตายที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล ญาติต้องไปแจ้งอำเภอเป็นอันดับแรก แล้วเขาก็มีวิธีการชันสูตรศพตามระเบียบกฎหมายของบ้านเมือง เมื่อไม่มีข้อสงสัยใด ๆ ญาติก็สามารถนำร่างไร้วิญญาณนั้นมาประกอบพิธีตามศาสนาใครศาสนามันได้ สำหรับชาวพุทธก็มีการสวดศพ บำเพ็ญกุศล เริ่มตั้งแต่มีการรดน้ำศพ บรรจุศพลงโลง สวดพระอภิธรรม ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์ เผาศพ เก็บอัฐิ และการทำบุญครบรอบวันตาย ตามแต่วัฒนธรรมและกำลังทรัพย์ของแต่ละบ้านจะเอื้ออำนวย

พิธีการเรื่องงานศพนั้น เริ่มต้นจากการอาบน้ำแต่งตัวให้ผู้ตาย สมัยก่อนนิยมใช้น้ำอบ ประแป้ง แต่งตัวตามยศศักดิ์ที่มี ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดา ๆ ก็เลือกชุดที่ผู้ตายชอบใส่ แต่บางบ้านนิยมใช้เสื้อผ้าใหม่ ๆ สวย ๆ ด้วยมีความคิดว่าอยากให้ผู้ตายดูดีที่สุดเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นก็นำศพขึ้นนอนบนตั่ง โดยหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก เพื่อให้ญาติพี่น้อง มิตรสหายเข้ามารดน้ำศพเพื่อแสดงความเคารพและขอขมากันเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะทำการมัดตราสังบรรจุลงหีบศพต่อไป ถ้าเป็น
ข้าราชการมียศถาบรรดาศักดิ์ ญาติสามารถทำเรื่องขอน้ำหลวงพระราชทานเพื่อนำมาอาบน้ำศพได้ วิธีมัดตราสังนั้นโบราณเขาจะทำเป็นกรวยดอกไม้สดใส่ในมือผู้ตายที่จัดท่าให้พนมมือไหว้ระหว่างอก แล้วก็นำเงินใส่ไปในปากผู้ตาย

ประเพณีการใส่เงินในปากคนตายนั้น เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไรไม่มีการบันทึกเอาไว้ แต่จากการกล่าวอ้างว่ามีหลักฐานปรากฏอยู่ในประเพณีของชนหลายชาติไม่ว่าจะเป็น กรีก ฮินดู จีน ยิว ฯลฯ สำหรับคนไทยแต่โบราณทำเป็นประเพณีสืบกันมานั้น มีเล่ากันมาว่า สมัยก่อนนิยมเย็บเป็นถุงผ้าเล็ก ๆ นำเงินหรือของมีค่าบรรจุใส่ถุงแล้วยัดใส่ไปในปากผู้ตายอีกทีหนึ่ง โดยให้เชือกที่มัดปากถุงผ้านั้นห้อยออกมานอกปากเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงนั้นร่วงหล่นเข้าไปในคอผุ้ตาย จึงมีคำเรียกกันว่า “ เงินปากผี “ เจ้าเงินปากผีนี้เองที่ผู้สร้างหนังไทย นำมาเป็นพล๊อตเรื่องสร้างเป็นหนังเป็นละคร หรือเขียนเป็นนวนิยายให้อ่านกันมานักต่อนักแล้ว นอกจากนี้ พวกบ้าวัตถุอาถรรพ์ทั้งหลาย ต่างก็พยายามแสวงหาเงินปากผีมาไว้ครอบครอง นัยว่ามันเฮี้ยนดีนักแล เอ้า…ความเชื่อของแต่ละคน ก็ว่ากันไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประเพณีเอาเงินใส่ปากผู้ตายนั้น เป็นเคล็ดในการสอนสั่งญาติมิตรสหายของผู้ตายให้เห็นว่า คนเราเมื่อตายแล้ว แม้แต่เงินที่อยู่ในปากตัวเองยังเอาไปไม่ได้ สิ่งหนึ่งที่จะสามารถติดตามไปได้ก็คือความดี บุญกุศลที่ได้สะสมเอาไว้เมื่อยามมีชีวิตอยู่ ซึ่งสาระสำคัญในส่วนนี้มักจะเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่จะต้องมาเทศน์ให้ญาติโยมฟัง

ประเพณีการสวดพระอภิธรรมในงานศพ

ในครั้งพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จไปโปรดพุทธมารดาได้ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เพื่อตอบแทนพระคุณของมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นสวรรค์ชั้นกลางๆ เทวดาชั้นต่ำก็สามารถขั้นไปฟังธรรมได้ ชั้นที่สูงกว่าก็ลงมาฟังธรรมได้ ทำให้เหล่าเทวดาทั้งหลายได้บรรลุธรรมพร้อมกัน มีพระโสดาบันเป็นเบื้องต่ำ และอนาคามีเป็นเบื้องสูง ทรงใช้เวลาในการแสดงธรรม ๓ เดือน ปัจจุบันพระสงฆ์ใช้ธรรมะหมวดอภิธรรมเป็นบทสวดเนื่องในการสวดอภิธรรมศพ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นสัจธรรมของชีวิตว่า โดยปรมัตถธรรมแท้จริงแล้วชีวิตประกอบด้วยธรรมชาติ ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นรูป คือ ร่างกาย อันประกอบด้วยธรรมชาติ ๔ กับส่วนที่เป็นนาม คือ จิต เจตสิก ถ้าเห็นสัจธรรมของชีวิตตามธรรมชาติด้วยปัญญาญาณ ย่อมบรรลุถึงพระนิพพาน การดับกิเลสคือการดับทุกข์ได้

การนิมนต์พระสงฆ์มาในการบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นราษฎรสามัญทั่วไป หรือจะเป็นเจ้านายชั้นสูง ก็ไม่มีข้อขีดคั่นแต่อย่างใด สมมุติว่ามีญาติพี่น้องถึงแก่ความตาย หลังจากได้จัดการศพตามประเพณีนิยมแล้วจึงไปนิมนต์พระที่วัด จำนวน ๔ รูปไปสวดในเวลากลางคืน เริ่มตั้งแต่ ๑ ทุ่ม ถึง ๔ ทุ่ม หรืออาจเลยกว่านั้นบ้างก็ได้ ทั้งนี้สุดแท้แต่ความสะดวกทั้งฝ่ายพระสงฆ์และเจ้าภาพ กำหนดจำนวนวันที่จะสวด อาจเป็น ๓ คืนหรือ ๗ คืน หรือมากน้อยตามกำลังศรัทธา ส่วนในรายที่เป็นผู้มีเกียรติ มีบริวารมาก จะบำเพ็ญกุศลด้วยการสวดมากกว่า ๓-๗ คืน ถึง ๕๐ คืน หรือจนถึง ๑๐๐ คืนก็ได้

การสวดพระอภิธรรมเป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ เมื่อมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาเสียชีวิตลงผู้ที่เป็นญาติมิตรและผู้คุ้นเคยก็จะจัดให้มีการสวดพระอภิธรรมขึ้นเพื่อเป็นการสร้างบำเพ็ญกุศลและอุทิศผลบุญนั้นไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ ในระยะหลังๆการสวดพระอภิธรรมได้พัฒนาออกไปมาก มีการนำเอาบทสวดอื่นๆมาใช้สวด เช่น สวดพระอภิธรรมมัตถะสังคหะ สวดพระมาลัย สวดสหัสสนัย สวดแปล เป็นต้น การฟังสวดพระอภิธรรมนั้นแม้เราจะยังไม่เข้าใจ แต่การได้ฟังไว้บ้างก็ยังเป็นผลดีอยู่นั่นเอง เพราะขณะฟังหากตั้งใจฟังอย่างดี ก็ย่อมมีสมาธิได้เหมือนกัน การตั้งใจฟังสวดด้วยดี จนเกิดสมาธิจัดเป็นบุญชั้นสูงอย่างหนึ่ง เรียกว่า ‘ภาวนามัย’ คือบุญที่เกิดจากการฝึกจิต เมื่อเราตั้งใจฟัง เราก็ได้บุญ และน้อมอุทิศบุญที่เกิดจากการตั้งใจฟังสวดนี้เอง อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายอีกทีหนึ่ง คนที่มาร่วมงานศพ แต่ไม่ตั้งใจฟังสวด จะเอาบุญจากที่ไหนมาอุทิศให้ผู้วายชนม์

นวัตกรรมงานสร้างสรรค์แห่งวาระสุดท้าย โลงสำหรับจัดงานศพรักษ์สิ่งแวดล้อม


กระดาษรังผึ้งเป็นนวัตกรรมใหม่ในประเทศไทย มีจุดเด่น คือ สามารถนำไปทำผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และสามารถตกแต่งภายนอกให้เป็นรูปลักษณ์ตามความต้องการ หรือเหมาะสมกับการจัดงาน กล่าวคือ โลงศพกระดาษในรูปแบบสำเร็จทำจากกระดาษรังผึ้ง 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ใช้เวลาในการเผาไหม้เพียง 10 นาที และยังสามารถย่อยสลายภายใน 7 วัน อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิตจากเดิม เนื่องจากป่าไม้ในปัจจุบันมีปริมาณลดน้อยลง ไม้ใหญ่มีไม่เพียงพอกับการใช้งาน มีราคาสูง ดังนั้น การทำโลงกระดาษรังผึ้งจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ลดภาวะโลกร้อน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดพิธีกรรมมีคุณค่าไม่ด้อยไปกว่าโลงไม้ที่มีราคาสูง เป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และเพิ่มช่องทางในการทำธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่ง

เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มนุษย์เมื่อยังคงมีชีวิตอยู่ ต้องดิ้นรน แสวงหา เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ยามเมื่อหมดลมหายใจลงต้องวางทุกสิ่งลงบนโลกใบนี้ เป็นสัจธรรมมนุษย์เมื่อหมดลมหายใจลง หมายถึง ความตาย บรรดาญาติพี่น้อง ก็จะดำเนินการกับผู้ลาโลกนี้ไปด้วยวิธีการตามหลักศาสนา ชาวพุทธนิยมนำศพผู้เสียชีวิตไปฌาปนกิจศพด้วยการเผา ชาวศริตส์หรือชาวอิสลาม นิยมนำศพไปฝัง ดังนั้นการบรรจุศพไว้ในโลงจึงมีความสำคัญ ในอดีตโลงศพที่ใช้จะทำจากไม้เนื้อดี ซึ่งหาได้ง่ายและราคาไม่แพงมาก แต่ในปัจจุบัน มีการการรณรงค์เรื่องลดภาวะโลกร้อนการรักษ์สิ่งแวดล้อม ทุกๆคน ต้องร่วมกันช่วยลดมลพิษและลดโลกร้อน การปลูกต้นไม้ ไม่ตัดไม้ทำลายป่า การนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วมารีไซเคิล และอีกหลายๆวิธี การคิดหาวัสดุขึ้นมาทดแทนจากโลงศพที่เคยใช้ไม้ ก็มีการนำกระดาษมาผลิตทำเป็นโลงกระดาษ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนในยุคปัจจุบันและในอนาคต

ทั้งในปัจจุบันและอนาคตเราสามารถนำวัสดุเหลือใช้ที่มาจากธรรมชาติ ถูกนำมาแปรรูป หรือทดแทนวัสดุที่มีอยู่เดิมเนื่องจากป่าไม้ในปัจจุบันลดปริมาณลงไปทั้งยังช่วยลดมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การนำเส้นใยกล้วย ใยสับปะรด หวาย กก ผักตบชวา ที่นอกจากนำมาใช้ทำเป็นเครื่องถักสานเพื่อใช้ใส่สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ แล้ว ยังสามารถนำมาดัดแปลงเป็นโลงศพ เพื่อเป็นช่องทางในเชิงธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่ง