ความแตกต่างและความสำคัญของประเพณีการจัดงานศพของแต่ละศาสนา

13

ประเพณีงานศพ เมืองตรังมีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิมและชาวไทยเชื้อสายจีน  ประเพณีงานศพเมืองตรังจึงมีพิธีกรรมที่แตกต่างไปตามศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม แต่มีบางอย่างทีเหมือนกันอันแสดงถึงความเป็นตรังชาวไทยพุทธท้องถิ่นมีกิจกรรมงานศพหลายขั้นตอน นับแต่วันตาย วันตั้งศพ วันฌาปนกิจศพ และวันหลังฌาปนกิจศพ เมื่อมีคนตายก็จะกระจายข่าวให้รู้กันทั่วไป บรรดาญาติมิตรผู้สนิทสนามรู้จักมักคุ้นกับญาติผู้ตาย ก็จะไปร่วมโดยจิตสำนึกว่า เพื่อนที่ดีจะเห็นกันเมื่อตายเมื่อมีผู้ตาย พิธีแรกคือ การเตรียมบรรจุโลง ด้วยการจัดศพผู้ตายให้นอนหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก จัดแต่งซองหมากพลูดอกไม้ ธูปเทียนให้ผู้ตายถือไว้แล้วคลุมด้วยผ้าจัดเตรียมโลงศพ อาบน้ำศพ แต่งตัวศพ นิมนต์พระภิกษุทำพิธีมัดตราสังและนำศพบรรจุโลง ซึ่งมีความเชื่ออยู่ว่า จะไม่บรรลุโลงในวันพุธ ถ้าวันตายเป็นวันพุธก็จะรอเวลาไว้ จนผ่านเที่ยงคืนไปแล้ว จึงบรรจุศพลงโลง

การจัดงานศพในสมัยก่อน เจ้าภาพต้องเตรียมการอยู่หลายวัน เตรียมสถานที่ปลูกโรงพิธี โรงเลี้ยง โรงครัว จัดหาฟืน สิ่งของต่าง ๆ ที่จะใช้ในงานไปบอกกล่าวญาติมิตรที่อยู่ห่างไกล ดังนั้นจึงนำศพใส่โลงค้างไว้ก่อน เมื่อถึงวันที่เหมาะสมซึ่งมักจะเป็นหน้าแล้ง ก็จะนำมาบำเพ็ญกุศล อาจจัดพิธีที่บ้านหรือที่วัดตามสะดวกปัจจุบันเมื่อบรรจุศพแล้วส่วนใหญ่จะจัดงานต่อเนื่องจนเผาเรียบร้อยในคราวเดียวชาวตรังนิยมตั้งศพบำเพ็ญกุศลหลายวัน โดยถือเอาวันฤกษ์ดีเป็นวันยกศพไปเผาหรือฝัง ซึ่งมักจะจัดงานศพให้เสร็จสิ้นในช่วงเดือนไม่นิยมจัดงานศพฉีกขาข้ามเดือน หลังจากยกศพขึ้นแล้วก็จะจัดเตรียมงานจนถึงวันสำคัญในสามวันสุดท้าย คือ วันเข้าทับวันเข้าการและวันเผาเมื่อเริ่มงานก็มีจัดการตกแต่งโลง  ตอนกลางคืนมีสวดพระอภิธรรม กลางวัน ทำบุญถวายสังฆทาน เตรียมอาหารไว้จัดเลี้ยงผู้มาฟังสวดและนั่งเพื่อนศพ  มีมหรสพตามฐานะเจ้าภาพ เช่น หนังตะลุง มโนราห์ กาหลอ กลอนลาน เป็นต้น  ในวันเข้าทับอาจมีการจุดดอกไม้ไฟประเภท อ้ายตูม ตรวด เพื่อเป็นสัญญาณบอกข่าวการเตรียมงานศพ ในปัจจุบันที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ชาวตรัง คือ การพิมพ์ใบประกาศงานศพขนาดใหญ่ ปิดประกาศให้เพื่อนฝูงญาติมิตรทราบเพื่อจะได้มาร่วมงาน