การจัดงานศพแสดงความไว้อาลัยให้แก่การเสียชีวิตของบุคคลในครอบครัว

ประเพณีงานศพ คือ การปฏิบัติต่อผู้เสียชีวิตโดยญาติเป็นผู้บอกและเชิญให้ญาติพี่น้องคนอื่นๆ ตลอดจนมิตรสหายและผู้ที่นับถือทราบการจัดงานศพ พิธีจะเริ่มด้วยการอาบน้ำศพหรือรดน้ำลงที่มือศพเพื่อแสดงว่าเป็นการทำความสะอาดศพ ผู้ที่รดน้ำศพควรขอขมาต่อผู้เสียชีวิตด้วยหากเคยโกรธเคืองกันมาก่อน ต่อจากนั้นจึงเอาศพใส่โลงให้มิดชิด แล้วตั้งไว้ไม่เกิน 7 วันเป็นส่วนมาก เพื่อให้มีการสวดพระอภิธรรมและทำบุญให้ผู้เสียชีวิต จากนั้นจึงทำพิธีเผาศพและเก็บกระดูกไว้ในที่อันสมควร หากไม่เผาเพราะญาติพี่น้องไม่พร้อมก็จะเก็บไว้ในที่บรรจุที่วัดก่อน รอจนพร้อมแล้วจึงทำการเผาตามประเพณีไทย ผู้ที่ไปในงานศพควรแต่งกายไว้ทุกข์

งานศพ เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความไว้อาลัยให้แก่การสียชีวิตของบุคคล จะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และศาสนาในท้องถิ่น บุลคลที่ทำประโยชน์ให้แก่สังคมจะได้รับพระราชทานเพลิศพ ซึ่งถือเป็นเกียรติต่อผู้เสียชีวิตและวงศ์ตรกูล ในงานศพจะมีระเบียบปฎิบัติหลายอย่าง ควรแต่งกายให้สุภาพให้เกียรติแก่ผู้เสียชีวิตการรดน้ำศพ ถือเป็นกาขอขมาโทษ นิยมรดน้ำศพเฉพาะท่านผู้ที่มีอายุมากกว่าเท่านั้น นิยมนำพวงหรีดไปด้วยเพื่อแสดงความไว้อาลัยและเป็นกำลังใจแก่ญาติผู้เสียชีวิต

การสวดศพ เจ้าภาพอาจจะใช้เวลา 5 วัน หรือ 7 วัน ตามความสะดวกและฐานะของเจ้าภาพ และนิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป สวดศพอภิธรรมในการเผาศพ วันเผาศพนั้นจะต้องไม่ใช่วันศุกร์ วันพฤหัสบดี วันพระ วันเลขคู่ ในข้างขึ้น วันเลขคี่ในข้างแรม ในวันเผาศพจะมีการทำบุญและทำมาติกาบังสกุลก่อน จากนั้นก็จะเคลื่อนศพเวียนซ้าย 3 รอบ ยกขึ้นเชิงตะกอนหรือขึ้นเมรุ ผู้ที่มาร่วมงานศพจะนำดอกไม้จันทร์ที่เจ้าภาพแจกให้ขึ้นไปวางไว้ที่ฝาโลงศพ ซึ่งในพิธีการเผาศพจะมี 2 ช่วงคือ ช่วงแรกจะเรียกว่าการเผาหลอก คือพิธีการที่บรรดาญาติพี่น้องและแขกที่มาร่วมงานจะนำดอกไม้จันทน์ขึ้นไปวางไว้ แต่ยังไม่มีการจุดไฟจริง แต่พิธีการเผาจริงจะเป็นบรรดาญาติสนิทขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์ และมีการจุดไฟเผาจริง